วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ วัดภูทองเขา

                                             
                                               ภูเขาทอง Golden Mountain






สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญน้ำตกเอราวัณ จังหวักาญจนบุรี

                                                   
                                          น้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี





Edu - fest DPU.

        EduFest@DPU มหกรรมการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ ครั้งที่ ๓

 
    วันที่ ๑๘-๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐ น. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดงาน“EduFest @DPU มหกรรมการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ” ครั้งที่ ๓  ภายใต้แนวคิด CSI : DPU (Campus Scene Investigation) โดยคณะต่าง ๆ จัดกิจกรรมที่หลากหลาย สนุกสนาน ในรูปแบบของนิทรรศการ การเสวนา แสดงผลงาน และเกมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร อาทิ การประกอบหุ่นยนต์อัตโนมัติ CSI จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ตีแผ่ความจริงผ่านสื่อ จากคณะนิเทศศาสตร์ การตามหาเบาะแส แบบ K9 ของคณะนิติศาสตร์  เปิดเผยปริศนาต้นทุนจากคณะการบัญชี  หรือการแต่งกายตามแบบฉบับ CSI จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ เป็นต้น มีนักศึกษาทุนศิลปินอีกมากมายที่มาร่วมสร้างสีสันในเวทีกลาง ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา โดยมุ่งหวังว่า นอกจากจะเป็นการนำความรู้ที่มีประโยชน์มาสู่กลุ่มเป้าหมายแล้ว กิจกรรมนี้จะช่วยสร้างความประทับใจ และความใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มากยิ่งขี้

   พักงานเวลากลางวัน ฉันจึงเก็บภาพบริเวณถนนด้านหน้าศูนย์สนเทศและหอสมุด และภาพบริเวณทางที่เดินผ่านไปยังศูนย์อาหารของมหาวิทยาลัย เชิญชมภาพบรรยากาศงาน EduFest 2010

    

 

บทที่ 13 แนวโน้มและรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

                             แนวโน้มและรูปแบบการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

แนวโน้มทางการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน
การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism)



การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมายถึง การกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์และการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสุนทรียภาพแก่สมาชิกของสังคมในปัจจุบันและอนาคต โดยใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าอย่างชาญฉลาด สามารถรักษาเอกลักษณ์ของธรรมชาติและวัฒนธรรมไว้นานที่สุด เกิดผลกระทบน้อยที่สุด และใช้ประโยชน์ได้ตลอดไป

แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน


สามารถพิจารณาได้จากองค์ประกอบ 4 ประการคือ
- การดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวในขอบเขตของความสามารถของธรรมชาติชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนต่อกิจกรรมการท่องเที่ยว
- การตระหนักในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อชุมชนขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
- การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีต่อการท่องเที่ยว
- การประสานความต้องการทางเศรษฐกิจ การคงอยู่ของสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ควรคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 ประการ
- เป็นการจัดการท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศนั้นๆ
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่สร้างความรู้และให้ความรู้
- เป็นการจัดการการท่องเที่ยวที่ประชาชนในท้องถิ่นมีบทบาท มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมจัดทำและร่วมได้รับผลประโยชน์อย่างเสมอภาค


ความสำคัญของการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


- เพื่อให้การใช้ทรัพยากรท่องเที่ยวเป็นไปอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด
- เพื่อรักษาทรัพยากรท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
- เพื่อป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดกับทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม


หลักการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable)
- ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นและลดการก่อของเสีย (Reducing Over-Consumption and Waste)
- รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม (Maintain Diversity)
- การประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (Integrating Tourism into Planning)
- ต้องการนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Supporting Local)
- การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น(Involving Local Communities)
- ประชุมปรึกษาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (Consulting Stakeholders and the Public)
- การพัฒนาบุคลากร (Training Staff)
- จัดเตรียมข้อมูลคู่มือบริการข่าวสารการท่องเที่ยวให้พร้อม( Marketing Tourism Responsibly)
- ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย (Undertaking Research)

ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) หมายถึง ปริมาณการใช้ประโยชน์พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่พื้นที่นั้นสามารถจะแบกรับไว้ได้ ก่อนที่จะเกิดความเสื่อมโทรมขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ ดังนั้นขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากรท่องเที่ยวจึงวัดได้ด้วยปริมาณนักท่องเที่ยวสูงสุดที่สามารถอยู่ได้ในทุกเวลา ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหนึ่งๆ ในปริมาณที่จะทำให้สภาพแวดล้อมถูกทำลายน้อยที่สุด ยังคงรักษาสภาพความเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีไว้มากที่สุด โดยนักท่องเที่ยวมีความพอใจและได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเหมาะสม รวมถึงความรู้สึกนึกคิดของประชาชนในท้องถิ่นด้วย
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism)


สมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ( The International Ecotourism Society)ได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศว่า
Eco Tourism: Responsible Travel to natural areas that conserves the environment and improves the well-being of local people
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยามว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Eco Tourism) หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน


การท่องเที่ยวนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ
- เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
- เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ
- มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีระบบ
- มีการจัดการด้านการให้ความรู้
- มีความรับผิดชอบโดยผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว
- เป็นการท่องเที่ยวที่ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความเพลิดเพลินและประทับใจ

กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้นมีอยู่หลายแบบ สามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ดังนี้
กิจกรรมหลัก 10 ประเภท ได้แก่

1. กิจกรรมการเดินป่า (Hiking/ Trekking)
2. กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ (Nature Education)
3. กิจกรรมถ่ายรูปธรรมชาติ บันทึกเทปวิดีโอ เทปเสียงธรรมชาติ (Nature Photography, Video Tapping And Sound of Nature Audio Taping)
4. กิจกรรมส่อง/ ดูนก (Bird Watching)
5. กิจกรรมศึกษา/ เที่ยวถ้ำ (Cave Exploring/ Visiting)
6. กิจกรรมศึกษาท้องฟ้าและดาราศาสตร์ (Sky Interpretation)
7. กิจกรรมล่องเรือศึกษาธรรมชาติ (Boat Sightseeing)
8. กิจกรรมพายเรือแคนู/ เรือคายัค/ เรือบด/ เรือใบ (Canoeing/ Kayak/ Browbeating)/ Sailing)
9. กิจกรรมดำน้ำชมปะการังน้ำตื้น (Snorkel Skin Diving)
10. กิจกรรมดำน้ำลึก (Scuba Diving)

กิจกรรมเสริม 9 ประเภท ได้แก่

1. กิจกรรมชมทิวทัศน์ธรรมชาติในบรรยากาศที่สงบ (Relaxing)
2. กิจกรรมขี่จักรยานตามเส้นทางธรรมชาติ (Terrain/ Mountain Biking)
3. กิจกรรมปีน/ ไต่เขา (Rock/ Mountain Climbing)
4. กิจกรรมพักแรมด้วยเต็นท์ (Tent Camping)
5. กิจกรรมเครื่องร่อนขนาดเล็ก (Hang Glider)
6. กิจกรรมล่องแพยาง/ แพไม้ไผ่ (White Water Rafting)
7. กิจกรรมพักผ่อนรับประทานอาหาร (Picnicking)
8. กิจกรรมเที่ยวน้ำตก (Waterfall Visits/ Exploring)
9. กิจกรรมวินด์เซิร์ฟ (Windsurfing)


การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agrotourism)

เป็นการท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมการเกษตรเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวหลัก สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร รวมทั้งมีการวางแผนป้องกันและวางแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ

ลักษณะสำคัญ
- เป็นการท่องเที่ยวที่มุ่งความสนใจไปยังกิจกรรมการเกษตรหรือสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก
- เป็นการท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่มีวัตถุประสงค์ทางการเกษตรเป็นหลัก
- เป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดระบบการให้บริการไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน
- เป็นการท่องเที่ยวที่มีกลไกกระจายรายได้ไปยังเกษตรกร
- เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเกษตรกรในด้านของกระบวนการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
- เป็นการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน เกิดการพักผ่อนหย่อนใจ การสร้างเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติของท้องถิ่น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร


- การกสิกรรม หมายถึงการประกอบพืชไร่ พืชสวน


- การประมง ได้แก่ กิจกรรมการเพาะเลี้ยงและการจับสัตว์น้ำ


- การปศุสัตว์



การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)


การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพหมายถึง การท่องเที่ยวเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพและการรักษาสุขภาพให้ดีขึ้น

ประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
1. การท่องเที่ยวเพื่อรักษาโรคของนักท่องเที่ยว
2. การท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูสุขภาพของนักท่องเที่ยว
3. การท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมสุขภาพของนักท่องเที่ยวให้ดีขึ้น

บทที่ 12 การพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

                               

                              การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)


คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ
รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ



1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน “จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น” (one to one)

2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ(ATMs)เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ “จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่” (one to many)

ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet)

เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่หันมาใช้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น

คือการที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคาที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทนจำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ ทำให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่าง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ VS อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

Customer Loyalty
Electronic mail
Discussion Forum/ Web-board
E-Newsletter

- ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์



- http://www.airasia.com/







ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
- การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
- การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
- การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่ 11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว


                           องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

องค์กรท่องเที่ยวโลก เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาลโดยจัดตั้งเป็นองค์การที่มีชื่อว่าWorld Tourism Organization : WTO
องค์กรการท่องเที่ยวโลกจัดชึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้
1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
2 เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
3 เพื่อดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การ สหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลก องค์การนี้มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต (ติดกับสวนจตุจักร) ลาดพร้าว กรุงเทพฯ
องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1960 ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชีองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD Member Countries”
องค์กรระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐ
คณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงานคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น
องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนWorld Travel and Tourism Council: WTCC
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก สมาชิกของสภาจะเป็นองค์การที่ได้รับการเชิญให้เป็นสมาชิกเท่านั้น โดยการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดูที่ว่าเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นองค์การที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก หรือระดับภูมิภาคหรือไม่ เช่น สายการบิน โรงแรม ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยว หรือธุรกิจให้เช่ารถ เป็นต้น สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ดังนี้
1 การดำเนินงานตามวาระการประชุม การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2 การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3 การสร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม
International Congress and Convention Association: ICCA
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศสมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการ
องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน
The Pacific Asia Travel Association: PATA
มีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก
วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. เป็นสื่อกลางแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการส่งเสริม และการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก และช่วยหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับที่พัก และการพักผ่อนหย่อนใจ
3. การประสานงานระหกว่างสมาชิกทั้งมวลกับวงการอุตสาหกรรมขนส่ง และธุรกิจการท่องเที่ยว
4. การดำเนินการโฆษณา ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะที่เป็นภูมิภาคที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนแห่งหนึ่งของโลก
5. การส่งเสริมให้มีการบริการ และการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งทั้งที่เข้ามา และภายในภูมิภาคแปซิฟิกให้พอเพียง
6. การดำเนินการด้านสถิติ และค้นคว้าวิจัยแนวโน้มของการเดินทางท่องเที่ยว และการพิจารณาของการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล
ASEAN Tourism Association: ASEANTA
สมาคมท่องเที่ยวอาเซียนเป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ ตลอดจนความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว
3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง
4. สนับสนุนและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
5. กระตุ้น สนับสนุน และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน
6. ประสานงานและให้คำแนะนำแก่สมาคม หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกหรือเกี่ยวข้องในวงการธุรกิจท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศอาเซียน
7. ให้บริการหรือความช่วยเหลือต่อภาครัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
American Society of Travel Agents ASTA
สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกา
สมาคมนี้ถือได้ว่าเป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การเดียวที่รวบรวมสมาชิกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกสาขาไว้ด้วยกัน
ปัจจุบันสมาคมมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวม
สำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ.2509องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา
(Ministry of Tourism and Sport)
สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวมีภารกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในการพัฒนามาตรฐาน การบริการด้าน การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้ถ่ายโอนมาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ยังรับโอนงานพัฒนาและสนับสนุนกิจการภาพยนตร์มาจากกรมประชาสัมพันธ์ด้วย
Thailand Convention and Exhibition Bureau เป็นองค์การมหาชนของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) นานาชาติในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมดังกล่าว
องค์กรภาคธุรกิจเอกชนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents :ATTA)
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association: TTAA)
สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. The Association of Thai Tour Operators: ATTO) สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (สมอ. Professional Guide Association Thailand: PGA
สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ดังนี้
-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงานอย่างมีระบบ ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยกัน
-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีระบบการรับรองคุณภาพ ระบบมาตรฐาน และระบบประกันคุณภาพของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการสำหรับนักท่องเที่ยว
-ควบคุมดูแลให้สมาชิกผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดำเนินการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ
-ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อบรม และเผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่สมาชิก หรือจัดเป็นบริการบุคคลทั่วไป
-ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไปทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-เสนอความเห็นหรือให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
-ให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กิจการด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิกด้วยกัน
-ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ดำเนินกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทที่ 10 กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


                                   กฎหมายสำคัญของไทย ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
 กฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่1 พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.
2 พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลัก
3 พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมี
วัตถุประสงค์เพื่อ
1 เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
2 ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3 ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
4 ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
4 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
11พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว
-ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว
-การควบคุมพาหนะที่เข้า-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด
2พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศ
- กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวมีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
3 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการ ท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
-ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
-เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด
กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว22 ฉบับ
1 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535
การกำกับดูแลเรื่องของการจัดตั้ง ควบคุมการดำเนินงาน รวมทั้งการกำหนดบทลงโทษสำหรับธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ และธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้มาตรฐาน และไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
กำกับดูแลในเรื่องของการขอรับใบอนุญาตการขอต่ออายุ หรือยกเลิกการเป็นมัคคุเทศก์ทั่วไปและมัคคุเทศก์เฉพาะด้วย เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอันที่จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพนี้มีจรรยาบรรณแห่วิชาชีพอย่างแท้จริง
- การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ในแต่ละภูมิภาค
2 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547
- เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยว
- การควบคุมดูแลและการให้บริการแก่ผู้พักอาศัยของเจ้าของกิจการ
- พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509, 2521, 2525 และ 2546
- เกี่ยวข้องกับการการให้คำจำกัดความของสถานบริการประเภทต่างๆ เช่น สถานเต้นรำ สถานที่ที่มีอาหาร สุราจำหน่าย สถานอาบน้ำ นวดหรืออบตัวฯลฯ
- ระเบียบว่าด้วยการจัดตั้ง การควบคุมดูแล การให้บริการแก่ผู้รับบริการจากสถานบริการเหล่านั้นทั่วราชอาณาจักร
- พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
- เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล และควบคุมมาตรฐานของภัตตาคาร ร้านอาหาร หรือกิจการประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านความสะอาด ถูกสุขอนามัย เพื่อสนองแนวคิดเรื่อง Clean food good taste เป็นต้น
- มีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการให้อำนาจแก่ท้องถิ่นในการบริหารจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชน
3 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528,2537,2544
-เกี่ยวข้องกับการจัดหางานภายในประเทศ และการไปทำงานในต่างประเทศสาขาการท่องเที่ยวของบริษัทจัดหางานให้ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย
4 พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2535
- ข้องกับการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
5 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2520, 2534 และ 2544
- เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจด้านโฆษณาของธุรกิจต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
6 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ถึง 2548
- กำหนดมาตรฐานการจัดทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งอาจเป็นสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว เช่น ไวน์พื้นบ้าน สินค้าหัตถกรรมพื้นเมือง เป็นต้น
7 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542
- เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย เช่น นวดแผนโบราณ เป็นต้น
8 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ 2541
- เป็นกฎหมายที่ใช้ในการคุ้มครองการบริโภคของบุคคลต่างๆ รวมถึงการคุ้มครองการบริโภค เช่น การซื้อของที่ระลึก ของนักท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้
9 พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ถึง 2543
- การรถไฟแห่งประเทศไทย จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการตามที่กำหนดไว้ เช่น การสร้างทางรถไฟสายใหม่ เลิกกิจการในเส้นทางที่ปิดการเดินรถแล้ว ตั้งอัตราค่าโดยสาร เป็นต้น
- รฟท.ต้องไม่วางระเบียบ ตลอดจนกำหนดอัตราค่าขนส่งอันจะเป็นการขัดกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีในทางเศรษฐกิจการคลัง โดยได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
10 พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2546
- กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งประจำทาง ไม่ประจำทาง การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก การขนส่งส่วนบุคคล การรับจัดการขนส่ง และสถานีขนส่งต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน
- รถที่ใช้ในการประกอบการขนส่งผู้โดยสารต้องจดทะเบียนเสียภาษี และผ่านการตรวจสภาพเพื่อความมั่นคงแข็งแรงจากพนักงานตรวจสภาพรถหรือจากสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ
- ผู้ประจำรถ ได้แก่ ผู้ขับรถ ผู้เก็บค่าโดยสาร นายตรวจ และผู้บริการตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน
- ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งเพิ่ม ลด หรือยกเว้นค่าขนส่งหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
11 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ถึง 2542
- เกี่ยวกับการใช้รถ สัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจร การใช้ทางเดินรถ ข้อกำหนดเกี่ยวกับ
12 พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ถึง 2547
- แบ่งรถยนต์ออกเป็น 3 ประเภท คือ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการ และรถยนต์ส่วนบุคคล
- กฎหมายว่าด้วยทางหลวงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 259 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2515
- การรักษาทางหลวงให้คงทนถาวรและมีบทบัญญัติกำหนดประเภทและชนิดของทางหลวง การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวง รวมถึงประกาศกำหนดน้ำหนักบรรทุกสูงสุดของยานพาหนะที่ใช้บนทางหลวง
13 พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ.2494 ถึง 2543
- การควบคุม ดูแลกิจการท่าเรือหรือธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ ซึ่งหมายรวมถึงท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวด้วย
14 พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 ถึง 2540
- การควบคุมดูแล การจัดระเบียบการเดินเรือสมุทรเพื่อการท่องเที่ยวและกิจการท่องเที่ยวทางน้ำประเภทต่างๆ
- ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2515
- มาตรการป้องกันและปราบปรามการใช้แม่น้ำลำคลองเป็นที่จอดเรือเพื่อพักอาศัยโดยไม่เคลื่อนที่เป็นเวลานานจนก่อให้เกิดความสกปรกรกรุงรัง
15 พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.2481 ถึง 2540
- การออกทะเบียนเรือสำหรับการค้าในน่านน้ำไทย การโอนกรรมสิทธิ์เรือการจำนองและบุริมสิทธิอันเกี่ยวกับเรือ ชื่อเรือ การเปลี่ยนแปลงเรือ และการเปลี่ยนแปลงเมืองท่าขึ้นทะเบียน
16 พระราชบัญญัติป้องกันเรือโดนกัน พ.ศ.2522 เป็น
- การใช้และการห้ามใช้โคมไฟ การใช้ทุ่นเครื่องหมาย การใช้เสียงสัญญาณ สัญญาณเวลาอับจน การถือท้ายและการเดินเรือ รวมถึงกำหนดวิธี หลักการป้องกันเรือโดนกัน
17 พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ.2497 ถึง 2542
- เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยวในส่วนของการชำระค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินของนักท่องเที่ยว
18 พระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ถึง 2538
- เกี่ยวกับการให้บริการท่าอากาศยาน และการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ที่ใช้บริการท่าอากาศยาน แต่เดิมใช้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ คือ “การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย” แต่ปัจจุบันตาม พ.ร.บ. ฉบับล่าสุด (พ.ศ.2538) ปรับจากรัฐวิสาหกิจเป็น “บริษัทมหาชนจำกัด”

     อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรณ์หลายฝ่ายทั้งรัฐและเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวดั้งนั้น
กฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1 กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2 กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว
3 กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4 กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว
5 กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป มี