วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามวรมหาวิหาร

 

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

 
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร


            พระพุทธไสยาส พระองค์นี้ พระบาทสมเด็จฯ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.3 ทรงสร้าง ขึ้นครั้งทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน เมื่อ พ.ศ. 2375 คือการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น ได้โปรดฯ ให้ขยายเขตพระอารามออกไปทางทิศเหนือ แล้วโปรดฯ ให้สร้างพระพุทธ ไสยาสขึ้นในที่ซึ่งได้ขยายออกไปใหม่นั้น เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ด้านพระพักตร์สูง 15 เมตร มีความยาวตลอดทั้งองค์ถึง 46 เมตร พื้นพระบาทประดับด้วยมุกไฟเป็นภาพมงคล 108 พระพุทธไส-ยาสองค์นี้ได้รับการขนานนามว่า เป็นพระพุทธไสยาสองค์ใหญ่ ที่มีความงดงามที่สุดในประเทศไทย


ที่ผนังพระวิหารหลังนี้มีภาพเขียนสีและจารึกเรื่อง มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกาทวีป) อยู่ด้านบนเหนือหน้าต่างขึ้นไป ระหว่างช่องหน้าต่างเขียนเรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ (ภิกษุณี) 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่าน อุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน




วัดโพธิ์ ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 - 17.00 น. ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ 50 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพสตรีห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าไปเที่ยวชม




การเดินทางมีรถประจำทางผ่าน

1. รถประจำทางธรรมดา สาย 1 - 3 - 6 - 9 - 12 - 25 - 32 - 43 - 44 - 47 - 48 - 51 - 53 - 82 - 103
2. รถประจำทางปรับอากาศ ปอ.1 – ปอ.6 – ปอ.7 – ปอ.8 – ปอ.12 - ปอ.44
3. เดินทางโดยเรือด่วนเจ้าพระยา สามารถขึ้นฝั่งที่ท่าเรือท่าช้าง, ท่าเรือท่าเตียน, ท่าเรือปากคลองตลาด แล้วเดินเข้าประตูทางถนนท้ายวังได้



แผนที่เดินทางมาวัดโพธิ์
*ผู้ที่นำรถส่วนตัวมาสามารถนำมาจอดไว้ถนนเชตุพน โดยเสียค่าบริการ


(วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ สถานที่จอดรถอาจไม่เพียงพอ)



*ส่วนรถบัสหรือรถทัวร์ขนาดใหญ่ที่นำนักท่อเที่ยวมา ไม่สามารถนำมาจอดที่ถนนเชตุพนได้

แต่สามารถนำรถไปจอดที่สนามหลวง ไม่เสียค่าบริการ

(กรณีพิเศษจะจอดริมถนนรอบวัด จะต้องติดต่อขออนุญาตทาง สน.ราชวัง โทร. 223-2845-7)
 
 

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ปิ่นโต




395 ปี บันทึกของปิ่นโต
           ปิ่นโตเป็นชาวเมืองมองเอมูร์เก่า ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวที่ยากจน ใน ค.ศ. 1523 ชีวิตของเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอ ดึ แปดรา ขณะนั้นเขามีอายุได้ 28 ปี และเขาก็เดินทางกลับมายังมาตุภูมิ เมื่อวันที่ 22 กันยายนค.ศ. 1558 รวมเป็นเวลา 21 ปีของการแสวงหาโชคในเอเชีย

              
ปิ่นโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับบปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้งและถูกจับเป็นทาสถึง 13 ครั้ง ชีวิตในเอเชียของปินโตเคยผ่านการเป็นกลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า ทูตและนักสอนศาสนา เขาจึงพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางวัลเนื่องากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจปินโตจึงได้เขียนหนังสือชื่อ "Peregrinacao" ขึ้น และถูกตีพิมพ์ หลังจากเขาถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1583

             
ปิ่นโตเคยเดินทางเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาในปัตตานีและนครศรีธรรมราช ก่อนค.ศ.1548 ครั้งที่ 2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช และหลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง “Pérégrinação” ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน

            
งานเขียนของปินโตตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 และแปลเป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศส (1628) ภาษาอังกฤษ (1653) ใน ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต"

            
งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนก็ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถามผู้รู้ บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตัวเอง ปินโตระบุว่า การเล่าเรื่องการเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลกให้มากยิ่งขึ้น มิได้มีจุดประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอยในการติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย

             
ส่วนเฮนรี โคแกนระบุว่า จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือ“Pérégrinação” จากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ คือ ต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เพื่อเป็นบทเรียนให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรืออับปาง เพื่อทัศนศึกษาดินแดนต่างๆในโลกกว้างและเพื่อเรียนรู้เรื่องราวของคนป่าเถื่อนจุดมุ่งหมายที่จริงจังของทั้งปินโตและโคแกนสะท้อนให้เห็นคุณค่าของเหตุการณ์สถานที่่่่่ อารมณ์ความรู้สึกและวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนที่ปรากฏในหนังสือ “Pérégrinação” อย่างไม่อาจมองข้ามได้


คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม

          
 บันทึกของปินโตนับเป็นเอกสารสำคัญที่กล่าวถึงเรื่องราวส่วนหนึ่งเกี่ยวกับทรัพยากร การทหาร วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ กฎหมายและเรื่องราวในราชสำนักสยามกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 และมักจะถูกอ้างอิงเสมอเมื่อกล่าวถึงบทบาททางการทหารของชุมชนโปรตุเกสในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช ปินโต กล่าวว่า

ชาวต่างประเทศทุกๆชาติที่ไปร่วมรบกับกษัตริย์สยามนั้นต่างก็
ได้รับคำมั่นสัญญาว่าจะได้รับบำเหน็จรางวัล การยกย่อง ผลประโยชน์
ความชื่นชมและเกียรติยศชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะได้รับอนุญาต
ให้สร้างโบสถ์เพื่อการปฏิบัติศาสนกิจในแผ่นดินสยามได้....

ความน่าเชื่อถือ

             
 หนังสือของปินโตถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในยุโรป จึงเป็นเหตุให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ในงานเขียน ระบุว่า"การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายกับเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่าซินแบดแห่งโปรตุเกส"

               
นักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างอิงโดยตลอด อาทิ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา มานพ ถาวรวัฒน์สกุลในเรื่องขุนนางอยุธยา

หลักฐานของปินโตกับปัญหาในการศึกษาชุมชนโปรตุเกสสมัยอยุธยา

            
  หากนักเรียนประวัติศาสตร์คนใดจะนำงานเขียนของปินโตมาใช้ในการตรวจสอบเรื่องราวเกี่ยวกับตำแหน่งหัวหน้าค่ายโปรตุเกส ความสัมพันธ์ของคนภายในค่าย ก็อาจจะต้องใช้ความพยายามในการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานชิ้นนี้มากพอสมควร การที่ปินโตเคยเป็นทูตของข้าหลวงโปรตุเกสแห่งมะละกาไปยังรัฐต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ อีกทั้งยังเคยเป็นทหารและนักสอนศาสนาของโปรตุเกสด้วย เขาจึงน่าจะเป็นบุคคลที่มีเกียรติพอที่จะได้รับความเชื่อถือจากผู้มีฐานะเป็นศัตรูชาติโปรตุเกสในยุโรปหรือแม้แต่ชาวโปรตุเกสบางคน แต่เขาก็ไม่เคยถูกนักประวัติศาสตร์โปรตุเกส อาทิ ดูอาร์ตึ บาร์บูซา จูอาว ดึ บารอส และคาสปาร์ คอร์รีอาเสีย